หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ   ถามใจวัยรุ่นเรื่อง “แก๊งปาหิน”
                  ปัญหาแก๊งวัยรุ่นปาหินกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ก่อให้เกิดความวิตก
กังวลและหวาดระแวงให้กับผู้ที่ใช้รถใช้ถนนในยามค่ำคืนเป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะถนนสายหลักที่ใช้เดินทางสู่ภาคต่างๆ
ซึ่งมีระยะทางยาวและค่อนข้างมืด ทำให้เป็นเหตุจูงใจในการก่อเหตุปาหินบ่อยครั้ง  โดยขณะนี้ได้ขยายวงกว้างไปในหลาย
พื้นที่   ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง ถามใจวัยรุ่นเรื่อง “แก๊งปาหิน”  ขึ้น
เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทางออกของเรื่องดังกล่าว  โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15 - 23 ปี
ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,177 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 48.4 และเพศหญิงร้อยละ 51.6  เมื่อวันที่
17 – 19 สิงหาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. ความรู้สึกเมื่อทราบว่าผู้ที่ก่อเหตุปาหินใส่กระจกรถบนท้องถนนเป็น “กลุ่มวัยรุ่น” คือ

 
ร้อยละ
เป็นการกระทำที่ไร้สติ
39.7
น่ารังเกียจ น่าสมเพช
29.0
ละอายใจแทน
20.0
กล้าบ้าบิ่นดี
5.7
อยากลองทำดูบ้าง
1.6
อื่นๆ อาทิ ไม่มีจิตสำนึก ป่าเถื่อน เป็นต้น
4.0
 
 
             2. ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด (5 อันดับแรก) คือ                 
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
ใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ที่กระทำผิด
ให้หนักขึ้น
45.2
ให้ตำรวจตั้งด่านตรวจตราและปราบปรามอย่างเคร่งครัดจริงจัง
18.4
รณรงค์สร้างจิตสำนึกที่ดีโดยให้วัยรุ่นเห็นถึงผลเสียที่เกิดขึ้น
9.7
ผู้ปกครองควรอบรมสั่งสอน ดูแลบุตรหลานและทำให้ครอบครัวอบอุ่น
8.3
ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น เล่นกีฬา ทำกิจกรรม
ในชุมชมร่วมกัน
4.3
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อบทลงโทษสำหรับ “วัยรุ่น” ที่ปาหินใส่กระจกรถยนต์บนท้องถนน คือ

 
ร้อยละ
ควรลงโทษสถานหนักเทียบเท่าผู้ใหญ่ที่กระทำความผิด
83.4
ควรลงโทษสถานเบา เช่น คุมประพฤติ ให้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
16.6
 
 
             4. ความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการลงโทษพ่อแม่ผู้ปกครองของวัยรุ่นที่ก่อเหตุปาหิน

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
( โดยให้เหตุผลว่า พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ได้ดูแลบุตรหลานให้ดี
   เป็นครอบครัวเดียวกันควรจะรับผิดชอบร่วมกัน และวัยรุ่นจะได้
   รู้สึกสำนึกขึ้นมาบ้าง เป็นต้น )
36.4
ไม่เห็นด้วย
( โดยให้เหตุผลว่า พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ
   กระทำความผิดด้วย และไม่รู้ว่าบุตรหลานของตัวเองเป็นผู้
   กระทำ เป็นต้น )
63.6
 
 
             5. สิ่งที่อยากบอกกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำ หรือกำลังคิดจะทำเลียนแบบ “แก๊งปาหิน” (5 อันดับแรก)
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
เป็นการทำให้ผู้อื่นและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อน
21.4
เป็นเรื่องไม่ดี ให้เลิกทำ และไม่ควรคิดเลียนแบบ
19.0
ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ดีกว่า
14.3
เอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าคนในครอบครัวโดนบ้างจะเป็นอย่างไร
11.4
ไร้สาระ ไม่มีหัวคิด
9.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับมุมมองและความรู้สึกของผู้ที่อยู่ในวัย
ใกล้เคียงกันกับผู้ที่ก่อเหตุปาหินใส่กระจกรถยนต์บนบนท้องถนน ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและนำ
ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างวัยรุ่นอายุ 15-23 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวนทั้งสิ้น
32 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่
บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน พญาไท พระนคร มีนบุรี
ยานนาวา ราชเทวี ลาดพร้าว วัฒนา สวนหลวง สาทร หลักสี่ และห้วยขวาง จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะ
สัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,177 คน เป็นเพศชาย
ร้อยละ 48.4 และเพศหญิงร้อยละ 51.6
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัย
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 17 - 19 สิงหาคม 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 สิงหาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
570
48.4
             หญิง
607
51.6
รวม
1,177
100.0
อายุ:
 
 
             15 – 17 ปี
358
30.4
             18 – 20 ปี
422
35.8
             21 – 23 ปี
397
33.8
รวม
1,177
100.0
การศึกษา:
 
 
             กำลังศึกษาอยู่
1,029
87.4
             ไม่ได้ศึกษาแล้ว
148
12.6
รวม
1,177
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776